วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เกร็ดความรู้อาเซียน
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 1
ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 2
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 3
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 4
อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 5
1. แพทย์
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 6
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 1
ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ
1. กัมพูชา
2. ไทย
3. บรูไนดารุสซาลาม
4. พม่า
5. ฟิลิปปินส์
6. มาเลเซีย
7. ลาว
8. สิงคโปร์
9. เวียดนาม
10. อินโดนีเซีย
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 2
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน
1) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2) เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3) เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4) เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5) เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7) เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 3
รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 4
อาเซียน +3 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
1) จีน
2) ญี่ปุ่น
3) เกาหลีใต้
อาเซียน +6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
1) จีน
2) ญี่ปุ่น
3) เกาหลีใต้
4) ออสเตรเลีย
5) นิวซีแลนด์
6) อินเดีย
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 5
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ในประชาคมอาเซียน
1. แพทย์
2. ทันตแพทย์
3. นักบัญชี
4. วิศวกร
5. พยาบาล
6. สถาปนิก
7. นักสำรวจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 6
เพลงประจำอาเซียน
The ASEAN Way
เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณสดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมยอดอาเซียน ครั้งที่ 14ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณสดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมยอดอาเซียน ครั้งที่ 14ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เนื้อร้อง
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look-in out-ward to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
WE dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
We dare to dream,
We care to share for it's the way of ASEAN.
เนื้อร้อง ภาษาไทย
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล
วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับปรชาคมอาเซียน (AEC)
เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
รู้ไว้ดี คิดไปใช้ ได้ประโยชน์นะเออ
สวัสดีค่ะ พี่น้องทุกๆคน ทั่วสารทิศ ทุกมุมเมือง ทุกประเทศ ทุกดวงดาว (ไปกันใหญ่แล้วเรา ฮา) และต้องขอสุขสันต์วันเกิดอาเซียน วันนี้...วันที่ 8 สิงหาคม 2555 ครบรอบ 45 ปีการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสมาคมอาเซียน ฮูเร่ ฮูเร่ ขอให้ทุกคน ทุกชาติอาเซียนจงเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
และเช่นเดิมสำหรับวันนี้พี่เกียรติขอเสนอ
และเช่นเดิมสำหรับวันนี้พี่เกียรติขอเสนอ
8 เรื่องพึงรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เป็นบางแง่มุมที่พี่เกียรติอยากนำเสนอทุกๆ คนค่ะ เพราะพี่เองแอบตื่นตะลึงไปกับบางข้อตอนที่พี่รู้ และอาจเป็นบางข้อที่เราๆ อาจมองกันในมุมเดียวค่ะ พอรู้...ก็อยากเล่าให้ฟัง เชิญทัศนาเลยจ้า
1. | ไม่ใช่ข้อบังคับ แค่อยากให้ทำร่วมกัน |
จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ปี 2552 มีการลงนามรับรองปฏิญญาว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ก็จริง แต่สิ่งที่จะทำกันใน "ประชาคมอาเซียน" อย่างข้อตกลงต่างๆ ใน 3 เสาหลัก หลายๆ ส่วน ยังเป็นเพียง Blueprint เช่น ACE Blueprint ซึ่งหมายความว่าเป็นเพียงข้อตกลงร่วมมือ ไม่ใช่ข้อบังคับให้ทำตาม เพราะฉะนั้นถ้าประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไหน จะไม่ทำตามข้อตกลงภายในเสาต่างๆ ทั้ง 3 เสาหลักนี้ ก็ไม่ผิดและประเทศเพื่อนบ้านไม่สามารถมาลงโทษใดๆ เราได้ (แต่ถ้าทุกชาติร่วมมือ และมากดดันภายหลัง หรือมาตกลงกันใหม่ก็อีกเรื่องนะ) เป็นอันว่าถ้าเราจะตื่นตัวมากๆ ก็ไม่ใช่ เพราะว่าเรากำลังไหลตัวตามนโยบายประชาคมนี้นะ แต่เราต้องคอยติดตามสถานการณ์บ้านเมืองเราด้วยว่า...ตกลงแล้ว (พี่ใหญ่ในบ้านเมือง)ไทยเราจะเอาอย่างไรกันแน่?! |
2. | ASEAN - X | |
|
3. | ไม่ใช่เรื่องเพิ่งเกิด ค่อยๆ ทำมานานแล้ว |
- เรื่องประชาคมอาเซียน ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นเรื่องที่ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ เป็นไปมานานแล้ว เรียกว่าเป็นเรื่องสืบเนื่องจากความร่วมมือแต่ครั้งก่อนๆ อย่างเรื่องเปิดเสรีเขตการค้า AFTA จนมาถึงเรื่องข้อตกลงเรื่องกฎบัตรอาเซียน เกี่ยวเนื่องกันจนในที่สุดมาถึงยุคประชาคมอาเซียนนี้ |
4. | เสรีอาชีพก็ไม่ได้เพิ่งมีเช่นกัน | |
|
5. | รักภาษาบ้านเกิดสุดหัวใจ | |
- ย้ำกันอีกที! จากการสำรวจของสำนักสอนภาษามีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ที่ทำการสำรวจระดับทักษะภาษาอังกฤษในหมู่ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก พบว่าไทยแลนด์แดนสไมล์ของเราได้ผลประเมินเป็น Very Low Proficiency อันดับเป็นที่ 42 ในชาติเอเชีย และรองจากชาติอาเซียนชาติติดๆ เรานี่แหละ ก็เรารักภาษาบ้านเกิดสุดหัวใจ เลยพูดภาษาอื่นได้ก็ไม่แปลกใช่ไหม (ฮา) เอ้า! แต่ถ้าว่ากันตามจริง การรักษ์ภาษาบ้านเกิดไม่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองนี่นะ! |
6. | ตื่นเต้นเป็นส่วนๆ ลืมภาพรวม ลืมภาพกว้าง | |
ตอนนี้ชาติที่มีความหลากหลายเรื่องภาษา วัฒนธรรม และเน้นให้มีการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด อย่างสิงคโปร์ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มอาเซียน ที่ประชากรมีความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ และสามารถผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ ทำงานร่วมกันได้ น่าเรียนรู้จากเขานะ (แต่พี่เกียรติขอให้เราเรียนรู้วัฒนธรรม เลือกส่วนดีมาใช้ มากกว่าไปเอาวัฒนธรรมเขามาเลียนแบบทั้งหมดนะ! ไม่ว่าชาติทางแถบไหนก็เถอะ) |
7. | สกุลเงินอาเซียนที่ยังไม่ควรมี | |
ดังนั้น ถ้าจะทำเงินสกุลเดียวกัน ก็ต้องมีนโยบายทางการคลังหรือคนดูแลเรื่องเศรษฐกิจคนเดียว เป็นหน่วยกลางของภูมิภาค ซึ่งตอนนี้ยังทำไม่ได้แน่นอน เพราะความสามารถของแต่ละประเทศแตกต่างกัน คงไม่น่ามีประเทศไหนอยากเสียผลประโยชน์ร่วมกันแน่นอน
|
8. | ไม่ใช่ข้อบังคับ แต่ถ้าทำได้จะดีกว่าไหม? |
- ถึงแม้จะไม่บังคับให้ชาติไหนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการเป็นประชาคมอาเซียน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สนใจเรื่องนอกบ้านเราเลย เพราะไม่ว่าสังคม วัฒนธรรม ความปลอดภัย และเศรษฐกิจเราในตอนนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก แล้วเราก็ต้องค้าขายกันในกลุ่มเพื่อนบ้าน รู้เขา รู้เรา รู้จักเพื่อนบ้าน และไปร่วมมือกับเขา ไปช่วยเหลือเขาบ้าง ขอความช่วยเหลือเขาบ้าง ย่อมดีกว่าเราโดดเดียวเปล่าเปลียวในโลกา ที่สำคัญนักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกไว้ว่า ในทศวรรษหน้าอาเซียนจะเป็นใหญ่! เราก็เป็นส่วนหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้นะ จะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์ และมอบประโยชน์สู่ความเป็นประชาคมอาเซียนดีล่ะ? |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)